วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สรรพคุณและคุณค่าของฟักข้าว

สรรพคุณและคุณค่าของฟักข้าว
"ฟักข้าว" ผลเล็ก ๆ แบบนี้ แต่มีสรรพคุณเด็ด ๆ มากมาย โดยเฉพาะผลอ่อนของฟักข้าวที่มีทั้งวิตามินซี แคลเซียม เหล็ก ไฟเบอร์ แต่สารอาหารที่พบมากใน "ฟักข้าว" ก็คือ เบต้าแคโรทีน โดยพบว่า เยื่อเมล็ดของฟักข้าวมีปริมาณเบต้าแคโรทีนสูงกว่าแครอทถึง 10 เท่าเชียวนะ ซึ่งสารตัวนี้เป็นสารตั้งต้นของวิตามิน ซึ่ส่วนช่วยบำรุงสายตาได้อย่างดี และยังทำหน้าที่เสมือนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
          ไม่ใช่แค่ "แคโรทีน" เท่านั้น เพราะรายงานการศึกษาของต่างประเทศ ยังพบด้วยว่า ในเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวสีแดงมี  ไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศถึง 70 เท่า แต่สำหรับฟักข้าวสายพันธุ์ไทยมีปริมาณไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศเพียง 12 เท่า ซึ่งก็ถือว่ามากแล้ว
          ทั้งนี้ ทางการแพทย์พิสูจน์แล้วว่า ไลโคปีนจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวเป็นสารต้านมะเร็ง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร ดังนั้น หากจะบอกว่า ฟักข้าว เป็นอาหารอีกหนึ่งชนิดที่ต้านมะเร็งได้ดีก็คงไม่ผิดนัก
          ในตำรับยาไทย ได้กล่าวถึงสรรพคุณส่วนต่าง ๆ ของฟักข้าวไว้ คือ
           ใบ ปรุงเป็นยาเขียว ใช้ถอนพิษ ดับพิษทุกชนิด ตำพอกแก้ปวดหลัง
           ยอด มีเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในปริมาณที่สูง จึงสามารถใช้รักษามะเร็ง
           เมล็ด ใช้บำรุงปอด แก้ท่อน้ำดีอุดตัน และแก้วัณโรค
           ราก ใช้ต้มดื่ม หรือตากแห้ง บดเป็นผงแล้วปั้นขนาด 0.5 กรัม กินครั้งละ 3-5 เมล็ด ก่อนอาหารเช้า-เย็น ขับเสมหะ ดับพิษไข้ แก้เข้าข้อ ปวดตามข้อ ถอนพิษไข้ นอกจากนี้ หากนำส่วนของรากแช่น้ำ แล้วใช้น้ำสระผม จะช่วยแก้ผมร่วง และฆ่าเหาได้
นอกจากในประเทศไทยแล้ว เรายังสามารถพบ "ฟักข้าว" ได้ในอีกหลายประเทศในแถบเอเชีย ทั้งประเทศจีน พม่า ไทย ลาว บังกลาเทศ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ซึ่งแต่ละประเทศก็รู้จักสรรพคุณของ "ฟักข้าว" เป็นอย่างดี และนำ "ฟักข้าว" มาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ กัน อย่างเช่น
           ประเทศจีน นิยมนำเมล็ดแก่ของฟักข้าวมาบดให้แห้ง นำไปผสมน้ำมัน หรือน้ำส้มสายชูเล็กน้อย แล้วทาผิวหนังบริเวณที่มีอาการอักเสบ บวม จะช่วยรักษาอาการบวมได้ นอกจากนั้น ยังช่วยรักษาโรคกลาก เกลื้อน ฟกช้ำ แก้อาการผื่นคัน โรคผิวหนังต่าง ๆ ได้ด้วย
           ประเทศเวียดนาม ชาวเวียดนามนิยมนำฟักข้าวมาปรุงอาหารในเทศกาลปีใหม่ และงานมงคลสมรส โดยจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮานอย พบว่า น้ำมันจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ
           ประเทศฟิลิปปินส์ นำรากฟักข้าวมาบดแล้วนำไปหมักผม เพื่อช่วยให้ผมดกและยังสามารถกำจัดเหาได้ด้วย ซึ่งในประเพณีล้านนาของไทยก็มีการนำฟักข้าวไปสระผมเช่นกัน เพื่อช่วยแก้อาการคันศีรษะ แก้รังแค แก้ผมร่วง และช่วยให้ผมดกดำขึ้น
           ประเทศญี่ปุ่น มีการวิจัยพบว่า โปรตีนจากสารสกัดน้ำของผลฟักข้าวช่วยยับยั้งการเจริญของก้อนมะเร็งลำไส้ใหญ่ในหนูทดลอง
          สำหรับในประเทศไทยเองนั้น ขณะนี้มีนักวิจัยกำลังศึกษาสรรพคุณของฟักข้าวอย่างมากมาย อย่างเช่น คณะนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ได้ร่วมกันศึกษาเรื่องการนำน้ำมันของเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคไขมันระดับนาโน มาพัฒนาเป็นเครื่องสำอางลดเลือนริ้วรอย ซึ่งจากการทดสอบก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และทำให้งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับรางวัล "IFSCC Host Society Award 2011" จากงานประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ 2011 (IFSCC 2011) 
          นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่พบว่า ในเมล็ดฟักข้าวมีโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอชไอวี และยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ด้วย ขณะที่นักวิจัยจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็กำลังศึกษาวิจัย เพื่อปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ฟักข้าวให้มีปริมาณเบต้าแคโรทีนและสารไลโคปีนสูงขึ้น และมีผลผลิตของเยื่อหุ้มเมล็ดเพิ่มมากขึ้นด้วย
คุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าว
รศ.ดร.สุธา ทิพย์ ภมรประวัติ ได้ เรียบเรียงไว้ในเอกสารวิชาการทางการแพทย์เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของฟักข้าวไว้ ว่า ในประเทศไทยใช้ผลฟักข้าวอ่อนสีเขียวเป็นอาหาร ซึ่งรสชาติเนื้อฟักข้าวเหมือนมะละกอ ลวกหรือต้มให้สุกหรือต้มกะทิจิ้มน้ำพริกกะปิ หรือใส่แกง ยอดอ่อน ใบอ่อนนำมาเป็นผักได้ นำมานึ่งหรือลวกให้สุกกินกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงเป็นแกง เช่น แกงแค ประเทศเวียดนามกินข้าวเหนียวหุงกับเยื่อเมล็ดผลฟักข้าวสุก เนื่องจากชาวเวียดนามเชื่อว่าสีขาวเป็นสีแห่งความตาย ข้าวสีส้มแดงจึงจัดเป็นมงคลต่องานเทศกาลต่าง ๆ ชาวเวียดนามเอาเยื่อสีแดงจากผลฟักข้าวสุกพร้อมเมล็ดมาหุงกับข้าวเหนียว ได้ข้าวสีส้มแดงมีกลิ่นหอม ต้องมีเมล็ดฟักข้าวติดมาในข้าวด้วย จึงถือว่าเป็นของแท้
เยื่อเมล็ดของฟักข้าวมีปริมาณเบตาแคโรทีนมากกว่าแครอท 10 เท่า มีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า และมีกรดไขมันขนาดยาวประมาณร้อยละ 10 ของมวล การกินเบตาแคโรทีนจากฟักข้าวพบว่าดูดซึมในร่างกาย ได้ดีเพราะละลายได้ในกรดไขมันดังกล่าว งานวิจัยในประเทศเวียดนาม ปัจจุบันมีผู้นำเยื่อเมล็ดนี้เป็นเครื่องดื่มอาหารเสริมจำหน่ายในต่างประเทศ ประเทศจีนใช้เมล็ดแก่ของฟักข้าวเป็นยามานาน กว่า 1,200 ปี ใช้บำบัดอาการอักเสบบวม กลากเกลื้อน ฝี อาการฟกช้ำ ริดสีดวง แก้ท้องเสีย อาการผื่นคันและโรคผิวหนังติดเชื้อต่าง ๆ ทั้งในมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ การกินฟักข้าวเป็นยานั้น ใช้เมล็ดแก่บดแห้ง ส่วนการใช้ภายนอก ให้นำเมล็ดฟักข้าวบดแห้งผสมน้ำมัน หรือน้ำส้มสายชูเล็กน้อยทาบริเวณที่มีอาการและใช้เยื่อเมล็ดแทนสีผสมอาหาร
ฟักข้าว

วิธีการเพาะเมล็ดฟักข้าว

การปลูกฟักข้าว


เมล็ดฟักข้าวคะ หน้าตาน่าทานมาก
การปลูกฟักข้าว 

อันดับแรกเรา ต้องเพราะเมล็ด หรือ ปักชำ หรือทับเถาว์ก่อนคะ หลังจากนั้นจึง ทำค้างให้เกาะ พอมีดอกเราก็ช่วยผสมเกสรช่วยให้เขาติดผลคะ หรือ จะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติก็ได้คะ แต่อัตราการติดผลจะน้อยมากถ้าเราไม่ช่วย อิอิ


วิธีการเพาะเมล็ดฟักข้าว
1. แช่น้ำทิ้งไว้เลยค่ะ คืน ขึ้นไป เมล็ดจะอิ่มน้ำ หรือ จะใช้วิธีกะเทาะเปลือกแข็งๆออก เพื่อช่วยให้เขางอกได้ง่ายและเร็วขึ้นเพราะเปลือกฟักข้าวจะแข็งมากคะ โดยส่วนตัวแล้วจะเอาเมล็ดฟักข้าวมาแช่น้ำยาเร่งรากก่อนคะ หรือ แช่ในน้ำขี้หมูแทนก็ได้ถ้าเราไม่มีน้ำยาเร่งราก แช่ไว้ประมาณ 20-45 นาที
2. ใส่เมล็ดลงบนดินเพาะปลูกที่โปร่งเปียกชุ่ม  แต่ไม่แฉะ โดยใช้ดินมาทับเมล็ดประมาณ2-3เซ็น
3. รดน้ำตลอดไม่ปล่อยให้ดินแห้ง แต่ระวังไม่ให้แฉะ(เทคนิค คือ ดินเพาะควระบายน้ำดี ป้องกันการเน่าได้)
4. พอเมล็ดแตกใบจริงออกมาสักสี่ใบก็เอาไปปลูกลงแปลงได้คะ

เมล้ดฟักข้าว หลังจากล้างทำความสะอาดและตากแห้งแล้ว
ช่วยกระเทาะเปลือกเมล็ดฟักข้าว(เอาเปลือกออกให้หมด )ก่อนแช่ในน้ำยาเร่งราก
หลังจากเอาลงดินเมล็ดก็จะงอก
วิธีแยกราก ปักชำ หรือ ทับเถาว์
วิธี นี้เราจะสามารถเลือกได้ว่าอยากได้ต้นฟักข้าวตัวผู้หรือตัวเมีย คะซึ่งผลที่ได้ คือ เรากำหนดเพศได้ ฟักข้าวออกดอกติดผลเร็วไม่ต้องรอนานคะ ทำง่ายๆ คะ ถ้าอยากได้เพศไหนก็นำเถาว์ของต้นเพศนั้นมาชำ ด้วยเถาว์หรือ ยอดก็ได้ หรือ จะทับเถาว์ก็เลือกได้เช่นกัน ยิ่งถ้าแยกรากจะทำได้เร็วกว่าแต่จะมีผลกระทบต่อต้นพรรณเล็กน้อย หรือ ถ้าไม่ระวังต้นพรรณอาจตายได้  ทุกครั้งก่อนเอาเมล็ด หรือ ต้นที่ได้มาจากการชำ หรือวิธีใดก็แล้วแต่ปลูกลงดิน ท่านควรแช่น้ำยาเร่งรากก่อน และอย่าลืมเอาปูนข้าวหว่านเพื่อปรับสภาพดินเตรียมดินก่อนนะคะ

ทำค้างให้ฟักข้าวไต่
ต้นที่ได้จากการชำเถาว์

ฟักข้าว พืชพื้นบ้านมากคุณค่า

ฟักข้าว  พืชพื้นบ้านมากคุณค่า
ทำไมต้องเป็นฟักข้าว
ขณะนี้ผู้คนทั่วไปใส่ใจกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น นอกจากหันมาบริโภคผักผลไม้และเนื้อสัตว์ออร์แกนิก (organic) กันมากขึ้นแล้ว ก็มักแสวงหาผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพต่างๆ บริโภคเพื่อได้มาซึ่งสุขภาพที่ดีอย่างง่ายดายขึ้นด้วย
ในปัจจุบันมีอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากมายที่กล่าวอ้างว่ามีคุณสมบัติช่วยเสริมสร้างสุขภาพ ผลิตภัณฑ์มากมายไม่สามารถตอบคำถามผู้บริโภคได้ชัดเจนว่ามีผลดีต่อสุขภาพตามคำกล่าวอ้างหรือไม่
                แต่ผลิตภัณฑ์บางตัวมีผลบวกต่อสุขภาพอย่างแท้จริงและปราศจากผลข้างเคียงในการบริโภค หนึ่งในจำนวนนั้นคือ ผลิตภัณฑ์จากเยื่อหุ้มเมล็ดผลฟักข้าว หรือที่เรียกอีกอย่างชื่อว่า ผลแก็ก นั่นเอง




ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ฟักข้าวมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พม่า ไทย ลาว บังกลาเทศ มาเลเซียและฟิลิปปินส์ เป็นพืชที่ชาวเวียดนามใช้ประกอบอาหารมาก ในชนบทมีปลูกกันเกือบทุกบ้านเรือน
ฟักข้าว เป็นไม้เถาเลื้อยพัน มีมือเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงแบบสลับ ใบรูปหัวใจหรือรูปไข่ กว้างยาวเท่ากันประมาณ        ๖-๑๕ เซนติเมตร ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ๓-๕ แฉก
ดอกเป็นดอกเดี่ยวพบที่ซอกใบ ต้นแยกเพศอยู่คนละต้น กลีบดอกสีขาวแกมเหลือง ตรงกลางมีสีน้ำตาลแกมม่วง ใบประดับมีขน
ผลอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง เจริญได้เองโดยไม่ต้อง ถูกผสม เมื่อผลสุกจะมีสีแดง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดหรือแยกรากปลูก
ฟักข้าวเริ่มมีดอกหลังแยกรากปลูกประมาณ ๒ เดือน เริ่มผลิดอกราวเดือนพฤษภาคมและให้ดอกจน ถึงราวเดือนสิงหาคม ผลสุกใช้เวลาประมาณ ๒๐ วัน และใน ๑ ฤดูกาลจะเก็บเกี่ยวผลฟักข้าวได้ ๓๐-๖๐ ผล โดยเก็บผลสุกได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ผลของฟักข้าวมี ๒ ชนิด ผลยาวมีขนาดยาว ๖-๑๐ เซนติเมตร ส่วนผลกลมยาว ๔-๖ เซนติเมตร เปลือกผลอ่อนสีเขียวมีหนามถี่ เปลี่ยนเป็นสีส้มแก่หรือแดงเมื่อผลสุก แต่ละผลหนักตั้งแต่ ๐.๕-๒ กิโลกรัม
ฟักข้าว Momordica cochinchinnensis (Lour.) Spreng.
อยู่ในวงศ์แตงกวาและมะระคือวงศ์ Cucurbitaceae
ชื่ออื่น ขี้กาเครือ (ปัตตานี) ผักข้าว (ตาก ภาคเหนือ) มะข้าว (แพร่) แก็ก (Gac เวียดนาม) Baby Jackfruit, Spiny Bitter Gourd, Sweet Gourd, และ Cochin-chin Gourd
ต้นฟักข้าว
ลักษณะพืชลำต้น
ฟักข้าวเป็นไม้ประเภทล้มลุก โดยเป็นเถาเลื้อย มีมือเกาะ แบบเดียวกับตำลึง ใบเป็นใบเดี่ยว รูปหัวใจ หรือรูปไข่ รูปร่างคล้ายใบโพธิ์ ความกว้างยาวเท่ากันประมาณ 6-15 เซนติเมตร ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก 3-5 แฉก
ดอก
ดอกลักษณะดอกจะออกบริเวณข้อต่อระหว่างใบ หรือ ซอกใบ โดยออกข้อละดอก ลักษณะ คล้ายดอกตำลึง ลักษณะกลีบดอก ขาวอมเหลือง หรือขาวแกมเหลือง ก้านเกสรและกลีบละอองมีสีม่วงแกมดำ หรือน้ำตาลแกมม่วง ใบเลี้ยงประดับมีขน โดยดอกจะเป็นดอกแบบ เพศไม่สมบูรณ์ แยกเป็นดอกดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย และจะอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้จะมีสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ ส่วนดอกเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่า
ผล
ผลของฟักข้าวมี 2 ชนิด ผลยาวมีขนาดยาว 6-10 เซนติเมตร ส่วนผลกลมยาว 4-6 เซนติเมตร เปลือกผลอ่อนสีเขียวมีหนามถี่ เปลี่ยนเป็นสีส้มแก่หรือแดงเมื่อผลสุก แต่ละผลหนักตั้งแต่ 0.5-2 กิโลกรัม ที่ประเทศเวียดนามมักปลูกฟักข้าวพาดพ้นไม้ระแนงข้างบ้าน และเก็บเฉพาะผลสุกมาประกอบอาหารแต่เนื่องจากฟักข้าวให้ผลดีที่สุดในช่วงฤดู หนาว ชาวเวียดนามจึงใช้ประกอบอาหารในเทศกาลปีใหม่และงานมงคลสมรสเท่านั้น ฟักข้าว 1 ผลจะได้เยื่อสีแดงราว 200 กรัม ผลของฟักข้าวจะมีรูปร่างกลมรี มีหนามเล็ก ๆ อยู่รอบผล ผลอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง เจริญได้เองโดยไม่ต้องถูกผสม เมื่อผลสุกจะมีสีแดง หรือแดงอมส้ม ภายในมีเมล็ดจำนวนมากเรียงตัวกันคล้ายเมล็ดแตง ผลฟักข้าวมีเปลือกหนา ผลสุกเนื้อในหนามีสีส้มภายในมีเยื่อสีแดงให้เมล็ดเกาะ เนื้อผลสุกกินได้ ที่ประเทศเวียดนามใช้เยื่อสีแดงและเมล็ด (มีน้ำมัน) เป็นยา
ที่ประเทศเวียดนามมักปลูกฟักข้าวพาดพันไม้ระแนงข้างบ้าน และเก็บเฉพาะผลสุกมาประกอบอาหาร แต่เนื่องจากฟักข้าวให้ผลดีที่สุดในช่วงฤดูหนาว ชาวเวียดนามจึงนิยมใช้ประกอบอาหารในเทศกาลปีใหม่และงานมงคลสมรสเท่านั้น
ผลฟักข้าวมีเปลือกหนา ผลสุกเนื้อในหนามีสีส้ม ภายในมีเยื่อสีแดงให้เมล็ดเกาะ เนื้อผลสุกกินได้ ที่ประเทศเวียดนามใช้เยื่อสีแดงและเมล็ด (มีน้ำมัน) เป็นยา ฟักข้าว ๑ ผลจะได้เยื่อสีแดงราว ๒๐๐ กรัม
การปลูกฟักข้าว
อันดับแรกเราต้องเพราะเมล็ด หรือ ปักชำ หรือทับเถาว์ หลังจากนั้นจึง ทำค้างให้เกาะ พอมีดอกเราก็ช่วยผสมเกสรช่วยให้เขาติดผล หรือ จะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติก็ได้ แต่อัตราการติดผลจะน้อยมากถ้าเราไม่ช่วย