วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วิธีทำน้ำฟักข้าว

ส่วนประกอบ

 

- ฟักข้าวสุกคาต้น 2 ลูก
- มะนาว
- น้ำตาลทรายไม่ฟอกสี
- ดอกเกลือ (เกลือป่น)
- น้ำผึ้ง
- น้ำเปล่า

วิธีทำ  

1. ผ่าฟักข้าวตักเมล็ดออกมาใส่กระชอน ยีเอาแต่เยื่อหุ้มเมล็ด


ออกมาเป็นครีมสีแดงอมส้มอย่างนี้ค่ะ


2. ตักเนื้อที่เหลือใส่เครื่องปั่น เติมน้ำพอท่วม ปั่นให้ละเอียด


จะได้ครีมสีเหลืองส้มอย่างนี้ค่ะ


3. เทเนื้อฟักข้าวที่ปั่นแล้วผสมกับเยื่อหุ้มเมล็ดที่ยีไว้ เติมน้ำอีกหน่อย 


4. ตั้งไฟกลางๆ ใช้ทัพพีคนบ่อยๆ อย่าให้เดือดพล่าน 


4. เติมน้ำตาลทรายไม่ฟอกสี ดอกเกลือ ชิมรสตามชอบ 
5. ปิดไฟแล้วเติมน้ำผึ้งกับน้ำมะนาวแต่งกลิ่นและรสอีกหน่อย (มะนาวจะช่วยให้น้ำฟักข้าวตกตะกอนช้าดูน่าดื่มอีกด้วยค่ะ)


 

สรรพคุณของฟักข้าว

สรรพคุณของฟักข้าว
1.ผลอ่อนและใบอ่อน ช่วยลดน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานได้ (ผลอ่อน,ยอดฟักข้าว)
2.ช่วยบำรุงปอด ช่วยแก้ฝีในปอด (เมล็ด)
3.ใบฟักข้าวมีรสขมเย็น มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ตัวร้อนได้ (ใบ)
4. รากช่วยถอนพิษไข้ (ราก)
5.ช่วยขับเสมหะ (ราก)
6.ช่วยแก้ท่อน้ำดีอุดตัน (เมล็ด)
7.ช่วยขับปัสสาวะ (เมล็ด)
8.ฟักข้าว สรรพคุณของใบช่วยแก้ริดสีดวง (ใบ)
9.ใบนำมาตำใช้พอกแก้อาการปวดหลังได้ (ใบ)
10.ช่วยแก้กระดูกเดาะ (ใบ)
11.ช่วยแก้เข้าข้อ อาการปวดตามข้อ (ราก)
12.เมล็ดแก่นำมาบดให้แห้ง ผสมน้ำมันหรือน้ำส้มสายชูเล็กน้อย นำมาใช้ทาบริเวณที่มีอาการอักเสบ อาการบวม จะช่วยรักษาอาการได้ และยังช่วยรักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ผดผื่นคันต่างๆ อาการฟกช้ำได้อีกด้วย (เมล็ดแก่)
13.รากใช้ต้มดื่มช่วยถอนพิศทั้งปวง (ราก)
14.ฟักข้าวสรรพคุณทางยา ใบช่วยถอนพิษอักเสบ (ใบ)
15.ช่วยแก้พิษ แก้ฝี (ใบ)
16.ช่วยแก้ฝีมะม่วง (ใบ)
17.ฟักข้าวสรรพคุณ ใบช่วยแก้หูด (ใบ)
18.เมล็ดฟักข้าว สามารถนำมาใช้แทนเมล็ดแสลงใจได้ (โกฐละกลิ้ง)
ประโยชน์ของฟักข้าว
1.ฟักข้าว มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
2.ช่วยในการชะลอวัย ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด
3.ฟักข้าวมีเบต้าแคโรทีนสูงกว่าแครอท 10 เท่า และมีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า
4.ประโยชน์ ฟักข้าวช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา โรคต้อกระจก ประสาทตาเสื่อม ตาบอดตอนกลางคืน (เยื่อเมล็ด)
5.ช่วยป้องกันโรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด
6.ช่วยป้องกันและช่วยยับยั้งการเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือด
7.ช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
8.งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า ฟักข้าวมีโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอดส์ (HIV) และยังช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย ซึ่งได้ทำการจดสิทธิบัตรในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
9.ประโยชน์ของฟักข้าว กับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ฟักข้าวมีฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็ง ไวรัส ช่วยยับยั้งระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน
10.ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร และมะเร็งปอด
11.งานวิจัยของมหาวิทยาลับฮานอย พบว่า น้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ
12.ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้
13.ช่วยในการขับเสมหะ ใช้กลั้วคอช่วยลดอาการเจ็บคอ หรืออาการอักเสบที่ลำคอ
14.ฟักข้าวเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะพักฟื้น หรือผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ มีโรคประจำตัวหรือร่างกายอ่อนแอ
15.รากฟักข้าว ใช้แช่น้ำสระผม ช่วยทำให้ผมดกดำขึ้น แก้ปัญหาผมร่วง แก้อาการคันหนังศีรษะ รังแค และช่วยฆ่าเหาได้อีกด้วย (ราก)
16.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ได้ทำการศึกษาร่วมกัน ในเรื่องของการนำน้ำมันเยื้อหุ้มเมล็ดของฟักข้าว มาพัฒนาเป็นเครื่องสำอางสูตรลดเลือนริ้วรอย ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จนได้รับรางวัล “IFSCC Host Society Award 2011 จากงานประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ
17.ผลอ่อนฟักข้าว ใช้ทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น นำไปต้มหรือนึ่งจิ้มกินกับน้ำพริก หรือนำไปใส่แกงต่างๆ แกงส้มลูกฟักข้าว เป็นต้น
18.ยอดฟักข้าวอ่อน ใช้ทำเป็นอาหารก็อร่อย (กลิ่นจะคล้ายๆกับยอดหรือใบมะระ) เมนูฟักข้าว เช่น แกงเลียง แกงส้ม ผัดไฟแดง คั่วแค ใช้ลวกหรือต้มกินกับน้ำพริก ฯลฯ
19.ฟักข้าว สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น น้ำฟักข้าว ฟักข้าวแคปซูล เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สรรพคุณและคุณค่าของฟักข้าว

สรรพคุณและคุณค่าของฟักข้าว
"ฟักข้าว" ผลเล็ก ๆ แบบนี้ แต่มีสรรพคุณเด็ด ๆ มากมาย โดยเฉพาะผลอ่อนของฟักข้าวที่มีทั้งวิตามินซี แคลเซียม เหล็ก ไฟเบอร์ แต่สารอาหารที่พบมากใน "ฟักข้าว" ก็คือ เบต้าแคโรทีน โดยพบว่า เยื่อเมล็ดของฟักข้าวมีปริมาณเบต้าแคโรทีนสูงกว่าแครอทถึง 10 เท่าเชียวนะ ซึ่งสารตัวนี้เป็นสารตั้งต้นของวิตามิน ซึ่ส่วนช่วยบำรุงสายตาได้อย่างดี และยังทำหน้าที่เสมือนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
          ไม่ใช่แค่ "แคโรทีน" เท่านั้น เพราะรายงานการศึกษาของต่างประเทศ ยังพบด้วยว่า ในเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวสีแดงมี  ไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศถึง 70 เท่า แต่สำหรับฟักข้าวสายพันธุ์ไทยมีปริมาณไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศเพียง 12 เท่า ซึ่งก็ถือว่ามากแล้ว
          ทั้งนี้ ทางการแพทย์พิสูจน์แล้วว่า ไลโคปีนจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวเป็นสารต้านมะเร็ง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร ดังนั้น หากจะบอกว่า ฟักข้าว เป็นอาหารอีกหนึ่งชนิดที่ต้านมะเร็งได้ดีก็คงไม่ผิดนัก
          ในตำรับยาไทย ได้กล่าวถึงสรรพคุณส่วนต่าง ๆ ของฟักข้าวไว้ คือ
           ใบ ปรุงเป็นยาเขียว ใช้ถอนพิษ ดับพิษทุกชนิด ตำพอกแก้ปวดหลัง
           ยอด มีเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในปริมาณที่สูง จึงสามารถใช้รักษามะเร็ง
           เมล็ด ใช้บำรุงปอด แก้ท่อน้ำดีอุดตัน และแก้วัณโรค
           ราก ใช้ต้มดื่ม หรือตากแห้ง บดเป็นผงแล้วปั้นขนาด 0.5 กรัม กินครั้งละ 3-5 เมล็ด ก่อนอาหารเช้า-เย็น ขับเสมหะ ดับพิษไข้ แก้เข้าข้อ ปวดตามข้อ ถอนพิษไข้ นอกจากนี้ หากนำส่วนของรากแช่น้ำ แล้วใช้น้ำสระผม จะช่วยแก้ผมร่วง และฆ่าเหาได้
นอกจากในประเทศไทยแล้ว เรายังสามารถพบ "ฟักข้าว" ได้ในอีกหลายประเทศในแถบเอเชีย ทั้งประเทศจีน พม่า ไทย ลาว บังกลาเทศ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ซึ่งแต่ละประเทศก็รู้จักสรรพคุณของ "ฟักข้าว" เป็นอย่างดี และนำ "ฟักข้าว" มาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ กัน อย่างเช่น
           ประเทศจีน นิยมนำเมล็ดแก่ของฟักข้าวมาบดให้แห้ง นำไปผสมน้ำมัน หรือน้ำส้มสายชูเล็กน้อย แล้วทาผิวหนังบริเวณที่มีอาการอักเสบ บวม จะช่วยรักษาอาการบวมได้ นอกจากนั้น ยังช่วยรักษาโรคกลาก เกลื้อน ฟกช้ำ แก้อาการผื่นคัน โรคผิวหนังต่าง ๆ ได้ด้วย
           ประเทศเวียดนาม ชาวเวียดนามนิยมนำฟักข้าวมาปรุงอาหารในเทศกาลปีใหม่ และงานมงคลสมรส โดยจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮานอย พบว่า น้ำมันจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ
           ประเทศฟิลิปปินส์ นำรากฟักข้าวมาบดแล้วนำไปหมักผม เพื่อช่วยให้ผมดกและยังสามารถกำจัดเหาได้ด้วย ซึ่งในประเพณีล้านนาของไทยก็มีการนำฟักข้าวไปสระผมเช่นกัน เพื่อช่วยแก้อาการคันศีรษะ แก้รังแค แก้ผมร่วง และช่วยให้ผมดกดำขึ้น
           ประเทศญี่ปุ่น มีการวิจัยพบว่า โปรตีนจากสารสกัดน้ำของผลฟักข้าวช่วยยับยั้งการเจริญของก้อนมะเร็งลำไส้ใหญ่ในหนูทดลอง
          สำหรับในประเทศไทยเองนั้น ขณะนี้มีนักวิจัยกำลังศึกษาสรรพคุณของฟักข้าวอย่างมากมาย อย่างเช่น คณะนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ได้ร่วมกันศึกษาเรื่องการนำน้ำมันของเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคไขมันระดับนาโน มาพัฒนาเป็นเครื่องสำอางลดเลือนริ้วรอย ซึ่งจากการทดสอบก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และทำให้งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับรางวัล "IFSCC Host Society Award 2011" จากงานประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ 2011 (IFSCC 2011) 
          นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่พบว่า ในเมล็ดฟักข้าวมีโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอชไอวี และยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ด้วย ขณะที่นักวิจัยจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็กำลังศึกษาวิจัย เพื่อปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ฟักข้าวให้มีปริมาณเบต้าแคโรทีนและสารไลโคปีนสูงขึ้น และมีผลผลิตของเยื่อหุ้มเมล็ดเพิ่มมากขึ้นด้วย
คุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าว
รศ.ดร.สุธา ทิพย์ ภมรประวัติ ได้ เรียบเรียงไว้ในเอกสารวิชาการทางการแพทย์เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของฟักข้าวไว้ ว่า ในประเทศไทยใช้ผลฟักข้าวอ่อนสีเขียวเป็นอาหาร ซึ่งรสชาติเนื้อฟักข้าวเหมือนมะละกอ ลวกหรือต้มให้สุกหรือต้มกะทิจิ้มน้ำพริกกะปิ หรือใส่แกง ยอดอ่อน ใบอ่อนนำมาเป็นผักได้ นำมานึ่งหรือลวกให้สุกกินกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงเป็นแกง เช่น แกงแค ประเทศเวียดนามกินข้าวเหนียวหุงกับเยื่อเมล็ดผลฟักข้าวสุก เนื่องจากชาวเวียดนามเชื่อว่าสีขาวเป็นสีแห่งความตาย ข้าวสีส้มแดงจึงจัดเป็นมงคลต่องานเทศกาลต่าง ๆ ชาวเวียดนามเอาเยื่อสีแดงจากผลฟักข้าวสุกพร้อมเมล็ดมาหุงกับข้าวเหนียว ได้ข้าวสีส้มแดงมีกลิ่นหอม ต้องมีเมล็ดฟักข้าวติดมาในข้าวด้วย จึงถือว่าเป็นของแท้
เยื่อเมล็ดของฟักข้าวมีปริมาณเบตาแคโรทีนมากกว่าแครอท 10 เท่า มีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า และมีกรดไขมันขนาดยาวประมาณร้อยละ 10 ของมวล การกินเบตาแคโรทีนจากฟักข้าวพบว่าดูดซึมในร่างกาย ได้ดีเพราะละลายได้ในกรดไขมันดังกล่าว งานวิจัยในประเทศเวียดนาม ปัจจุบันมีผู้นำเยื่อเมล็ดนี้เป็นเครื่องดื่มอาหารเสริมจำหน่ายในต่างประเทศ ประเทศจีนใช้เมล็ดแก่ของฟักข้าวเป็นยามานาน กว่า 1,200 ปี ใช้บำบัดอาการอักเสบบวม กลากเกลื้อน ฝี อาการฟกช้ำ ริดสีดวง แก้ท้องเสีย อาการผื่นคันและโรคผิวหนังติดเชื้อต่าง ๆ ทั้งในมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ การกินฟักข้าวเป็นยานั้น ใช้เมล็ดแก่บดแห้ง ส่วนการใช้ภายนอก ให้นำเมล็ดฟักข้าวบดแห้งผสมน้ำมัน หรือน้ำส้มสายชูเล็กน้อยทาบริเวณที่มีอาการและใช้เยื่อเมล็ดแทนสีผสมอาหาร
ฟักข้าว

วิธีการเพาะเมล็ดฟักข้าว

การปลูกฟักข้าว


เมล็ดฟักข้าวคะ หน้าตาน่าทานมาก
การปลูกฟักข้าว 

อันดับแรกเรา ต้องเพราะเมล็ด หรือ ปักชำ หรือทับเถาว์ก่อนคะ หลังจากนั้นจึง ทำค้างให้เกาะ พอมีดอกเราก็ช่วยผสมเกสรช่วยให้เขาติดผลคะ หรือ จะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติก็ได้คะ แต่อัตราการติดผลจะน้อยมากถ้าเราไม่ช่วย อิอิ


วิธีการเพาะเมล็ดฟักข้าว
1. แช่น้ำทิ้งไว้เลยค่ะ คืน ขึ้นไป เมล็ดจะอิ่มน้ำ หรือ จะใช้วิธีกะเทาะเปลือกแข็งๆออก เพื่อช่วยให้เขางอกได้ง่ายและเร็วขึ้นเพราะเปลือกฟักข้าวจะแข็งมากคะ โดยส่วนตัวแล้วจะเอาเมล็ดฟักข้าวมาแช่น้ำยาเร่งรากก่อนคะ หรือ แช่ในน้ำขี้หมูแทนก็ได้ถ้าเราไม่มีน้ำยาเร่งราก แช่ไว้ประมาณ 20-45 นาที
2. ใส่เมล็ดลงบนดินเพาะปลูกที่โปร่งเปียกชุ่ม  แต่ไม่แฉะ โดยใช้ดินมาทับเมล็ดประมาณ2-3เซ็น
3. รดน้ำตลอดไม่ปล่อยให้ดินแห้ง แต่ระวังไม่ให้แฉะ(เทคนิค คือ ดินเพาะควระบายน้ำดี ป้องกันการเน่าได้)
4. พอเมล็ดแตกใบจริงออกมาสักสี่ใบก็เอาไปปลูกลงแปลงได้คะ

เมล้ดฟักข้าว หลังจากล้างทำความสะอาดและตากแห้งแล้ว
ช่วยกระเทาะเปลือกเมล็ดฟักข้าว(เอาเปลือกออกให้หมด )ก่อนแช่ในน้ำยาเร่งราก
หลังจากเอาลงดินเมล็ดก็จะงอก
วิธีแยกราก ปักชำ หรือ ทับเถาว์
วิธี นี้เราจะสามารถเลือกได้ว่าอยากได้ต้นฟักข้าวตัวผู้หรือตัวเมีย คะซึ่งผลที่ได้ คือ เรากำหนดเพศได้ ฟักข้าวออกดอกติดผลเร็วไม่ต้องรอนานคะ ทำง่ายๆ คะ ถ้าอยากได้เพศไหนก็นำเถาว์ของต้นเพศนั้นมาชำ ด้วยเถาว์หรือ ยอดก็ได้ หรือ จะทับเถาว์ก็เลือกได้เช่นกัน ยิ่งถ้าแยกรากจะทำได้เร็วกว่าแต่จะมีผลกระทบต่อต้นพรรณเล็กน้อย หรือ ถ้าไม่ระวังต้นพรรณอาจตายได้  ทุกครั้งก่อนเอาเมล็ด หรือ ต้นที่ได้มาจากการชำ หรือวิธีใดก็แล้วแต่ปลูกลงดิน ท่านควรแช่น้ำยาเร่งรากก่อน และอย่าลืมเอาปูนข้าวหว่านเพื่อปรับสภาพดินเตรียมดินก่อนนะคะ

ทำค้างให้ฟักข้าวไต่
ต้นที่ได้จากการชำเถาว์

ฟักข้าว พืชพื้นบ้านมากคุณค่า

ฟักข้าว  พืชพื้นบ้านมากคุณค่า
ทำไมต้องเป็นฟักข้าว
ขณะนี้ผู้คนทั่วไปใส่ใจกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น นอกจากหันมาบริโภคผักผลไม้และเนื้อสัตว์ออร์แกนิก (organic) กันมากขึ้นแล้ว ก็มักแสวงหาผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพต่างๆ บริโภคเพื่อได้มาซึ่งสุขภาพที่ดีอย่างง่ายดายขึ้นด้วย
ในปัจจุบันมีอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากมายที่กล่าวอ้างว่ามีคุณสมบัติช่วยเสริมสร้างสุขภาพ ผลิตภัณฑ์มากมายไม่สามารถตอบคำถามผู้บริโภคได้ชัดเจนว่ามีผลดีต่อสุขภาพตามคำกล่าวอ้างหรือไม่
                แต่ผลิตภัณฑ์บางตัวมีผลบวกต่อสุขภาพอย่างแท้จริงและปราศจากผลข้างเคียงในการบริโภค หนึ่งในจำนวนนั้นคือ ผลิตภัณฑ์จากเยื่อหุ้มเมล็ดผลฟักข้าว หรือที่เรียกอีกอย่างชื่อว่า ผลแก็ก นั่นเอง




ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ฟักข้าวมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พม่า ไทย ลาว บังกลาเทศ มาเลเซียและฟิลิปปินส์ เป็นพืชที่ชาวเวียดนามใช้ประกอบอาหารมาก ในชนบทมีปลูกกันเกือบทุกบ้านเรือน
ฟักข้าว เป็นไม้เถาเลื้อยพัน มีมือเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงแบบสลับ ใบรูปหัวใจหรือรูปไข่ กว้างยาวเท่ากันประมาณ        ๖-๑๕ เซนติเมตร ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ๓-๕ แฉก
ดอกเป็นดอกเดี่ยวพบที่ซอกใบ ต้นแยกเพศอยู่คนละต้น กลีบดอกสีขาวแกมเหลือง ตรงกลางมีสีน้ำตาลแกมม่วง ใบประดับมีขน
ผลอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง เจริญได้เองโดยไม่ต้อง ถูกผสม เมื่อผลสุกจะมีสีแดง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดหรือแยกรากปลูก
ฟักข้าวเริ่มมีดอกหลังแยกรากปลูกประมาณ ๒ เดือน เริ่มผลิดอกราวเดือนพฤษภาคมและให้ดอกจน ถึงราวเดือนสิงหาคม ผลสุกใช้เวลาประมาณ ๒๐ วัน และใน ๑ ฤดูกาลจะเก็บเกี่ยวผลฟักข้าวได้ ๓๐-๖๐ ผล โดยเก็บผลสุกได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ผลของฟักข้าวมี ๒ ชนิด ผลยาวมีขนาดยาว ๖-๑๐ เซนติเมตร ส่วนผลกลมยาว ๔-๖ เซนติเมตร เปลือกผลอ่อนสีเขียวมีหนามถี่ เปลี่ยนเป็นสีส้มแก่หรือแดงเมื่อผลสุก แต่ละผลหนักตั้งแต่ ๐.๕-๒ กิโลกรัม
ฟักข้าว Momordica cochinchinnensis (Lour.) Spreng.
อยู่ในวงศ์แตงกวาและมะระคือวงศ์ Cucurbitaceae
ชื่ออื่น ขี้กาเครือ (ปัตตานี) ผักข้าว (ตาก ภาคเหนือ) มะข้าว (แพร่) แก็ก (Gac เวียดนาม) Baby Jackfruit, Spiny Bitter Gourd, Sweet Gourd, และ Cochin-chin Gourd
ต้นฟักข้าว
ลักษณะพืชลำต้น
ฟักข้าวเป็นไม้ประเภทล้มลุก โดยเป็นเถาเลื้อย มีมือเกาะ แบบเดียวกับตำลึง ใบเป็นใบเดี่ยว รูปหัวใจ หรือรูปไข่ รูปร่างคล้ายใบโพธิ์ ความกว้างยาวเท่ากันประมาณ 6-15 เซนติเมตร ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก 3-5 แฉก
ดอก
ดอกลักษณะดอกจะออกบริเวณข้อต่อระหว่างใบ หรือ ซอกใบ โดยออกข้อละดอก ลักษณะ คล้ายดอกตำลึง ลักษณะกลีบดอก ขาวอมเหลือง หรือขาวแกมเหลือง ก้านเกสรและกลีบละอองมีสีม่วงแกมดำ หรือน้ำตาลแกมม่วง ใบเลี้ยงประดับมีขน โดยดอกจะเป็นดอกแบบ เพศไม่สมบูรณ์ แยกเป็นดอกดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย และจะอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้จะมีสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ ส่วนดอกเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่า
ผล
ผลของฟักข้าวมี 2 ชนิด ผลยาวมีขนาดยาว 6-10 เซนติเมตร ส่วนผลกลมยาว 4-6 เซนติเมตร เปลือกผลอ่อนสีเขียวมีหนามถี่ เปลี่ยนเป็นสีส้มแก่หรือแดงเมื่อผลสุก แต่ละผลหนักตั้งแต่ 0.5-2 กิโลกรัม ที่ประเทศเวียดนามมักปลูกฟักข้าวพาดพ้นไม้ระแนงข้างบ้าน และเก็บเฉพาะผลสุกมาประกอบอาหารแต่เนื่องจากฟักข้าวให้ผลดีที่สุดในช่วงฤดู หนาว ชาวเวียดนามจึงใช้ประกอบอาหารในเทศกาลปีใหม่และงานมงคลสมรสเท่านั้น ฟักข้าว 1 ผลจะได้เยื่อสีแดงราว 200 กรัม ผลของฟักข้าวจะมีรูปร่างกลมรี มีหนามเล็ก ๆ อยู่รอบผล ผลอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง เจริญได้เองโดยไม่ต้องถูกผสม เมื่อผลสุกจะมีสีแดง หรือแดงอมส้ม ภายในมีเมล็ดจำนวนมากเรียงตัวกันคล้ายเมล็ดแตง ผลฟักข้าวมีเปลือกหนา ผลสุกเนื้อในหนามีสีส้มภายในมีเยื่อสีแดงให้เมล็ดเกาะ เนื้อผลสุกกินได้ ที่ประเทศเวียดนามใช้เยื่อสีแดงและเมล็ด (มีน้ำมัน) เป็นยา
ที่ประเทศเวียดนามมักปลูกฟักข้าวพาดพันไม้ระแนงข้างบ้าน และเก็บเฉพาะผลสุกมาประกอบอาหาร แต่เนื่องจากฟักข้าวให้ผลดีที่สุดในช่วงฤดูหนาว ชาวเวียดนามจึงนิยมใช้ประกอบอาหารในเทศกาลปีใหม่และงานมงคลสมรสเท่านั้น
ผลฟักข้าวมีเปลือกหนา ผลสุกเนื้อในหนามีสีส้ม ภายในมีเยื่อสีแดงให้เมล็ดเกาะ เนื้อผลสุกกินได้ ที่ประเทศเวียดนามใช้เยื่อสีแดงและเมล็ด (มีน้ำมัน) เป็นยา ฟักข้าว ๑ ผลจะได้เยื่อสีแดงราว ๒๐๐ กรัม
การปลูกฟักข้าว
อันดับแรกเราต้องเพราะเมล็ด หรือ ปักชำ หรือทับเถาว์ หลังจากนั้นจึง ทำค้างให้เกาะ พอมีดอกเราก็ช่วยผสมเกสรช่วยให้เขาติดผล หรือ จะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติก็ได้ แต่อัตราการติดผลจะน้อยมากถ้าเราไม่ช่วย